menu

มนุษย์เราพร้อมแล้วหรือยัง 

กับโลกมายาที่เต็มไปด้วยสิ่งที่ AI สร้างขึ้น?

– การใช้งาน AI สร้างคอนเทนต์บนโลกออนไลน์กำลังเติบโต และมาพร้อมกับความท้าทาย ทั้งข่าวลวง ข่าวปลอม ข้อมูลที่ไม่ถูก ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือจริงบางส่วน (Disinformation) Deepfakes และความจริงที่สร้างขึ้นมาโดยไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลรองรับ (Hallucinated Facts)  
ปัจจุบันพบการใช้ AI ในการสร้างคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมจำนวนมาก อีกทั้งยังสร้างผลกระทบในวงกว้าง เช่น มีการใช้ AI สร้างภาพเหตุระเบิดใกล้กับอาคารของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีการปลอมเสียงเป็น CEO หลอกโอนเงิน และมีการทำ Deepfake ประธานาธิบดียูเครน กล่าวประกาศยอมแพ้สงครามรัสเซีย-ยูเครน 
– ทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อ สำนักข่าว และ ครีเอเตอร์ รวมถึงประชาชนทั่วไป ควรร่วมมือกัน สร้างโลกที่ใช้และเสพคอนเทนต์ที่ AI ผลิตสร้างสรรค์ มีจริยธรรม มีความตระหนักรู้ พัฒนาความเข้าใจในการใช้งาน และตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมาในการใช้งาน
 
– ปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีการใช้งานที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เราจะเห็นคนมากมายพูดถึง Generative AI ซึ่งเป็น AI ที่ถูกออกแบบให้มีความสามารถในการ “สร้างใหม่” จากชุดข้อมูลที่มีอยู่ ด้วยอัลกอริทึมแบบ Generative Model ยกตัวอย่างเช่น ChatGPT MidJourney และ DALL-E ฯลฯ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างคอนเทอนต์จำนวนมาก   
 
อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้ก็มาพร้อมกับความท้าทาย เนื่องจากปัจจุบัน พบการสร้างคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมจำนวนมาก มีการเพิ่มขึ้นของข่าวลวง ข่าวปลอม ข้อมูลที่ไม่ถูก ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือจริงบางส่วน (Disinformation) เนื้อหาที่สร้างขึ้นเพื่อปลอมแปลงลักษณะบุคคลต่าง ๆ ผ่านสื่อวิดีโอ รวมถึงภาพถ่าย และการบันทึกเสียง (Deepfakes) และ ความจริงที่สร้างขึ้นมาโดยไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลรองรับ (Hallucinated Facts) 
 
คำถามคือ ในวันที่โลกของเราเป็นไปด้วยสิ่งมายาต่าง ๆ ที่ AI สร้างขึ้น ทั้งคอนเทนต์ ระบบที่ใช้ AI มนุษย์เราพร้อมแล้วหรือยัง? จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างไร? และเราควรรับมืออย่างไร?
 
จะชัวร์ก่อนแชร์ยังไง ในเมื่อ AI สร้างคอนเทนต์เองได้เนียนกริ๊บ!  
เมื่อเราอยู่ในยุคที่ AI เฟื่องฟู เราต้องกลับมาคิดว่าคอนเทนต์ที่เราเห็นกันทั่วไป เป็นข้อมูลจริงหรือเปล่า ความจริง จริง ๆ แล้วคืออะไร อย่าเชื่อทุกสิ่งที่เห็นในทันที ปัจจุบัน เราแทบแยกไม่ออกแล้วว่าเนื้อหาต่าง ๆ ที่เราเห็นบนโลกออนไลน์นั้นถูกสร้างขึ้นด้วยมนุษย์หรือ AI
 
จากงานวิจัยที่ลองใช้ AI กับคนสร้างข้อความเท็จใน Twitter แล้วให้กลุ่มตัวอย่างลองทายว่าอันไหนเป้นข้อความเท็จ พบว่ามีโอกาสน้อยกว่า 3% ที่คนจะจับได้ว่าทวีตปลอมใน Twitter ที่สร้างโดย AI เป็นข้อความเท็จเมื่อเทียบกับข้อความเท็จที่มนุษย์สร้าง ซึ่งในการทดลองครั้งนี้ใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ GPT-3 เรียกได้ว่าปลอมได้เนียน และเขียนโน้มน้าวให้มนุษย์เชื่อได้เก่งกว่ามนุษย์ด้วยดันเองเสียอีก ซึ่งอาจเกิดจากข้อความของ GPT-3 มักจะมีโครงสร้างมากกว่าข้อความธรรมดาที่เขียนโดยมนุษย์แต่ก็กระชับเพื่อให้ง่ายต่อการประมวลผล โดยรวม ร้อยละอาจจะดูแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากปัญหาของการกระจายข้อมูลเท็จโดย AI อาจมีโอกาสเติบโตในขึ้นในอนาคตอย่างมีนัยยะสำคัญ
 
นักวิจัยกล่าวว่าการกระจายข้อมูลเท็จโดย AI ไม่เพียงเร็วและถูกกว่าเท่านั้น แต่ยังมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วย และมองว่าถ้าทีมวิจัยซ้ำอีกแต่วิจัยด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ล่าสุดจาก OpenAI คือ GPT-4 ความแตกต่างจะมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกด้วยความสามารถของ GPT-4 ที่มากกว่ามาก
 
Creator Economy Report 2023 ของ The Influencer Marketing Factory ระบุว่าในสหรัฐอเมริกา ครีเอเตอร์หรือนักสร้างคอนเทนต์ ถึง 94.5% ยอมรับว่าใช้ AI ในการทำคอนเทนต์ โดยส่วนมากใช้ในการปรับแต่งเนื้อหา และสร้างรูปภาพหรือวิดีโอ ซึ่งนับเป็นเรื่องดีที่ AI เข้ามาช่วยในการทำงาน ลดเวลาในการสร้างคอนเทนต์ อย่างไรก็ตาม การพึ่งพา AI มากเกินไป ขาดการตรวจสอบ อาจก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบในวงกว้างแบบที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว อีกทั้งอาจเราถูกครอบงำความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นจุดแข็งของมนุษย์ไป และหยุดคิดที่จะหาไอเดียใหม่ ๆ 
 
อีกทั้ง NewsGuard บริษัทที่วัดความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าวออนไลน์ ตรวจพบ 49 เว็บไซต์ที่ดูเหมือนจะใช้ AI สร้างเกือบทั้งหมด เฉพาะในเดือนเมษายนปี 2023 และยังพบอีกว่า บางเว็บไซต์สร้างบทความเป็นหลายร้อยบทความต่อวัน โดยทั้งหมดของเว็บไซต์หรือเนื้อหาส่วนใหญ่สร้างโดย AI ยอดนิยม เช่น ChatGPT ซึ่งเป็นที่น่ากังวลเกี่ยวกับคุณภาพและความโปร่งใสของเนื้อหา เพราะเป็นการผลิตเนื้อหาที่เน้นปริมาณแต่ไม่เน้นคุณภาพ ทำให้มีเนื้อหาที่ไม่มีคุณภาพถูกผลิตเข้าสู่โลกออนไลน์ ยิ่งการที่ AI สร้างเนื้อหาใกล้เคียงกับมนุษย์จนแยกได้ยาก ยิ่งทำให้เกิดการกระจายข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบนอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น หากผู้ใช้ไม่ตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาให้ดีก่อนเผยแพร่ หรือมีบุคคลที่จงใจเผยแพร่ด้วยจุดประสงค์ที่ไม่ดี
 
ต้องยอมรับว่าข้อมูลที่เอามาบนโลกอินเทอร์เน็ตมีทั้งข้อมูลจริง ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น อาจมีเรื่องอคติ ข้อมูลที่บิดเบือน หรือข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ส่วนใหญ่คนมักเชื่อว่าคอมพิวเตอร์ประมวลผลคำตอบที่ถูกต้องให้กับเรา แต่หากที่ใส่เข้าไปไม่มีคุณภาพ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นเช่นเดียวกัน (Garbage in; Garbage Out) 
 
สภาพแวดล้อมของข้อมูลบนโลกออนไลน์ อนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป? 
ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานตำรวจสากลแห่งสหภาพยุโรป (Europol) มีการคาดการณ์ว่าเนื้อหาบนโลกออนไลน์กว่า 90% อาจถูกสร้างจาก AI ภายในปี 2026 ซึ่งจะทำให้เกิดการปลอมแปลงข้อมูลเพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนรวมไปถึงการพิจารณากฎหมายนับเป็นความท้าทาย และมีเรื่องที่ต้องรับมือมากมาย กับการที่เราต้องอยู่ในโลกที่เนื้อหาต่าง ๆ ถูกสร้างด้วย AI 
 
มาลองดูการคาดการณ์อนาคตของสภาพแวดล้อมของข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ จาก Pew Research Center และ Elon University’s Imagining the Internet Center กันดีกว่าสภาพแวดล้อมของข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ที่สำคัญคือมนุษย์อย่างเราจะรับมือกับมันได้ไหม ซึ่งได้มีการพูดถึง AI ในหลายบริบทไว้อย่างน่าสนใจคาดการณ์อนาคตนี้ได้มีการคาดการณ์ไว้ตั้งแต่ปี 2017 ว่าอีก 10 ปี หรือในปี 2027 จะเป็นอย่างไร โดยได้แบ่งกลุ่มสถานการณ์ออกเป็น 3 รูปแบบ และ 5 ฉากทัศน์ดังนี้
 
1. สภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศไม่ได้มีอะไรดีขึ้น
ฉากทัศน์ที่ 1: สภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศไม่ได้มีอะไรดีขึ้น เนื่องจากปัญหาอยู่ที่มนุษย์ 
มนุษย์และ AI สามารถสร้างและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศที่บิดเบือนได้ทันที ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตและนวัตกรรม
มนุษย์มักเชื่อมั่นในสิ่งที่คล้ายคลึงกับตนเองหรือสิ่งที่คุ้นเคยมากที่สุด เพราะโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์จะมีความเห็นแก่ตัว ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและชอบความสะดวกสบาย
ในระบบเศรษฐกิจ การเมือง และระบบสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผู้นำองค์กรที่มีอำนาจและผู้นำรัฐบาลที่มีความสามารถในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมข้อมูลสารสนเทศจะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดเมื่อสภาพแวดล้อมดังกล่าวอยู่ในสภาวะวุ่นวาย 
ด้วยลักษณะของมนุษย์และปัญหาการมีข้อมูลสารสนเทศมากเกินไป ทำให้ผู้คนเกิดการแบ่งแยกหรือเกิดความขัดแย้งกัน ทำให้ยากต่อการตกลงเรื่องความรู้ทั่วไปร่วมกัน การโต้วาทีเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีและการสร้างความเชื่อมั่นเป็นไปได้ยากขึ้น สื่อที่เชื่อถือได้หรือเป็นที่ยอมรับในการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศเริ่มลดลง ข้อมูลสารสนเทศที่มาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่น่าเชื่อถือ สร้างข้อมูลสารสนเทศที่ผิด หรือสร้างความสับสน มีโอกาสเติบโตขึ้น 
คนส่วนน้อยในสังคมจะหา ใช้ หรือแม้กระทั่งยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ในขณะที่คนกลุ่มอื่นในสังคมจะเกิดความวุ่นวายจากการไม่ได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือ และเกิดความแตกต่างทางดิจิทัลที่มากขึ้น
 
ฉากทัศน์ที่ 2: สภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศไม่ได้มีอะไรดีขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีสร้างความท้าทายใหม่ ๆ ในระดับกว้าง และมนุษย์ยังไม่สามารถรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ
เรื่องราวที่สามารถใช้เป็นอาวุธและเนื้อหาเท็จอื่นๆ จะถูกขยายโดยโซเชียลมีเดีย การกรอง (Filter) ข้อมูลสารสนเทศเฉพาะที่ตรงกับความคิดตัวเองหรือที่สนใจ และอัลกอรึทึมของ AI 
ผู้ที่ทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและไม่ใช่เพื่อสาธารณะโดยทั่วไปจะได้เปรียบ และมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้นำในสงครามข้อมูลสารสนเทศ
เทคโนโลยีที่จะนำมาแก้ปัญหาเรื่องข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ความเป็นส่วนตัวของผู้คนลดลง และจำกัดเสรีภาพในการออกเสียง และทำให้คนไม่สามารถไม่เปิดเผยตัวตนบนออนไลน์ได้
 
2. สภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ฉากทัศน์ที่ 3: สภาพแวดล้อมข้อมูลสารสนเทศจะดีขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีจะช่วยในการออกป้ายกำกับ คัดกรองหรือไม่อนุญาตให้มีการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเท็จ และเพิ่มความสามารถให้กับประชาชนในการประเมินคุณภาพและความเป็นจริงของเนื้อหาได้
มีเทคโนโลยีที่ช่วยปรับแต่งตัวกรอง (Filter) อัลกอริทึม เบราว์เซอร์ แอปพลิเคชัน โปรแกรมเสริม และใช้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Trust Ratings) ของเนื้อหาได้
มีการแก้ไขกฎหมายซึ่งอาจรวมถึงการกำหนดความรับผิดของซอฟต์แวร์ (Software Liability Law)   การบังคับให้ผู้ใช้ให้ระบุตัวตนเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความปลอดภัยในการใช้งานออนไลน์ และข้อบังคับเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ 
 
ฉากทัศน์ที่ 4: สภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศจะดีขึ้น เพราะมนุษย์สามารถปรับตัว และทำให้สิ่งต่าง ๆ ดีขึ้นได้
ข้อมูลสารสนเทศเท็จยังคงมีอยู่แต่มนุษย์สามารถหาวิธีลดผลกระทบของมันได้ สามารถจัดการได้มากขึ้น เนื่องจากมนุษย์เริ่มมีความเชี่ยวชาญในการคัดแยกเนื้อหามากขึ้น
พลังและความร่วมมือจากมวลชน (Crowdsourcing) จะช่วยกันตรวจสอบข้อมูลสารสนเทศ เนื้อหาต่าง ๆ และบล็อกผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเท็จเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ดีออกไป อีกทั้งคนบางกลุ่มก็ได้คาดหวังให้มีการใช้เทคโนโลยี อย่าง Blockchain มาช่วยการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศแบบกระจายศูนย์
 
3. สภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ฉากทัศน์ที่ 5: เทคโนโลยีไม่สามารถชนะในสงครามข้อมูลสารสนเทศได้ มีการสนับสนุนเงินทุนและการผลิตข้อมูลสารสนเทศที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และความถูกต้อง รวมถึงมีการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศออนไลน์ให้กับประชาชน
เงินทุนและการสนับสนุนเน้นฟื้นฟูสื่อสาธารณะที่มีความเข้มแข็ง สุจริตและน่าเชื่อถือ
เพิ่มความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศบนโลกออนไลน์ให้กับประชาชน เป็นเป้าหมายหลักในทุกระดับการศึกษา
 
โดยภาพรวมแล้ว เราจะเห็นฉากทัศน์อยู่ 3 รูปแบบคือ อนาคตอาจเกิดภาพที่สภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศบนโลกออนไลน์ไม่ได้ดีขึ้น การสร้างเนื้อหาด้วยมนุษย์และ AI เติบโตและสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น ไม่ได้มีการจัดการแก้ไขอะไร หรือเทคโนโลยีไปไกลเกินกว่ามนุษย์จะรับมือได้ โดยเนื้อหาที่สามารถใช้เป็นอาวุธ และเนื้อหาเท็จอื่นๆ ถูกขยายผลกระทบที่จะเกิดขึ้นโดยโซเชียลมีเดีย และการกรอง (Filter) ข้อมูลสารสนเทศเฉพาะที่ตรงกับความคิดของตัวเองหรือที่สนใจ และเกิดจากอัลกอริทึมที่ AI เลือกให้ 
 
ในทางกลับกัน สภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศ อาจเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น จากการที่มีเทคโนโลยีที่ช่วยปรับแต่งตัวกรอง (Filter) อัลกอริทึม เบราว์เซอร์ แอปพลิเคชัน โปรแกรมเสริม และใช้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Trust Ratings) ของเนื้อหาได้ ข้อมูลสารสนเทศเท็จยังคงมีอยู่แต่มนุษย์สามารถหาวิธีลดผลกระทบของมันได้ สามารถจัดการได้มากขึ้น เนื่องจากมนุษย์เริ่มมีความเชี่ยวชาญในการคัดแยกเนื้อหามากขึ้น แลสุดท้ายคือมีการจัดโครงการช่วยเหลือและสนับสนุน มีเงินทุน การสนับสนุน และการเพิ่มความรู้ด้านสภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศบนโลกออนไลน์ให้กับประชาชน
 
หลังจากเห็นฉากทัศน์เรื่องสภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศแต่ละรูปแบบแล้ว คุณอยากให้ประเทศของเราอยู่ในฉากทัศน์ไหน?
 
จะรับมือกับสภาพแวดล้อมของสารสนเทศบนโลกออนไลน์ ที่สร้างด้วย AI อย่างไร 
เพื่อแก้ไขหรือป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเนื้อหาด้วย AI ที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต และสร้างผลกระทบในวงกว้าง จึงขอเสนอแนะแนวทางในการรับมือในภาคส่วนต่าง ๆ ด้งนี้ 
 
ภาครัฐ
พัฒนานโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและเผยแพร่เนื้อหาที่เกิดจาก AI โดยมีข้อกำหนดที่เป็นประโยชน์และสามารถใช้ในการควบคุมคุณภาพเนื้อหาได้ 
ภาครัฐควรกำหนดกรอบกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นระบบแบบครอบคลุมเพื่อรับมือกับการสร้างและการแพร่กระจายเนื้อหาที่เกิดจาก AI โดยกำหนดหน้าที่ของผู้สร้างเนื้อหาและแพลตฟอร์ม และกำหนดโทษที่เกิดจากการละเมิด
ต้องพัฒนานโยบายและกฎหมายที่เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของทิศทาง AI ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมถึงจัดทำแนวทางสำหรับการสร้างป้ายกำกับเนื้อหาที่เกิดจาก AI และกลไกในการถอดเนื้อหาออกเมื่อตรวจพบข้อมูลเท็จ
โดยให้ทุนสนับสนุนสำหรับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับเนื้อหาที่เกิดจาก AI 
สนับสนุนแพลตฟอร์มออนไลน์ให้มีมาตรการในการตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพของเนื้อหาที่เกิดจาก AI และเนื้อหาที่สร้างโดยมนุษย์ 
สนับสนุนการศึกษาและวิธีการรับมือกับสภาพแวดล้อมของข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจาก AI ผ่านการจัดอบรมและการสร้างโปรแกรมการเรียนรู้ 
เพื่อพัฒนาเครื่องมือและแนวทางในการรับมือกับเนื้อหาที่เกิดจาก AI
 
ภาคเอกชน
ควรมีการพัฒนาเทคโนโลยี และเครื่องมือตรวจจับเนื้อหาที่สร้างด้วย AI ที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี ที่สามารถระบุและตรวจสอบเนื้อหาที่เกิดจาก AI ในระดับสูงได้ เช่น ระบบป้องกันข้อมูลสารสนเทศเท็จที่ใช้ AI 
สร้างความรู้ความเข้าใจ และแนวทางการรับมือกับเนื้อหาที่เกิดจาก AI ให้แก่ทุกคนในองค์กร โดยเฉพาะฝ่ายที่เป็นผู้สร้างคอนเทนต์เผยแพร่สู่สาธารณะ 
เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการจัดการกับเนื้อหาที่เกิดจาก AI
พัฒนาทีมคนทำงานที่เชียวชาญเกี่ยวกับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพเนื้อหาที่เกิดจาก AI
 
ประชาชนทั่วไป
เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างเนื้อหาด้วย AI และวิธีการตรวจสอบข้อมูลสารสนเทศ สร้างองค์ความรู้เพิ่มเติม ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิธีการรับมือกับข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจาก AI ผ่านการอบรมและโปรแกรมการเรียนรู้ 
ตรวจสอบข้อมูลสารสนเทศก่อนที่จะแชร์หรือเชื่อมั่นในข้อมูลสารสนเทศ 
สามารถรายงานข้อมูลสารสนเทศที่เป็นข้อกำหนดหรือเนื้อหาที่เป็นเท็จกับแพลตฟอร์มหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายข้อมูลสารสนเทศที่ไม่เหมาะสม
 
ผู้สร้างคอนเทนต์ เช่น สื่อ สำนักข่าว และ ครีเอเตอร์
จากการเพยแพร่เนื้อหา 
โดยการอ้างอิงแหล่งที่มาที่มีความน่าเชื่อถือ 
สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ AI เข้าใจความสามารถและข้อจำกัดของเครื่องมือ 
ซื่อสัตย์กับงานที่ทำ เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศที่เที่ยงตรงและถูกต้อง 
ซึ่งจะช่วยสร้างความแตกต่างและคุณค่าที่ AI ยังไม่สามารถทดแทนได้
 
ถึงตาคุณแล้ว มาลองวิเคราะห์คอนเทนต์ถัดไปที่คุณเห็นในโซเชียลมีเดียดูกัน!  คุณคิดว่าเขาใช้ AI ทำหรือไม่ เขาน่าจะใช้ทำในส่วนไหนบ้าง คุณคิดว่าข้อมูลสารสนเทศมันน่าเชื่อถือไหม? ลองตรวจสอบหลาย ๆ แหล่งก่อนแชร์แล้วหรือยัง? รวมถึงในการใช้เครื่องมือ AI ในการทำคอนเทนต์ ให้ลองพิจารณา ตรวจสอบความถูกต้องลองจินตนาการถึงผลกระทบที่ตามมาดู 
 
แน่นอนเราอาจแค่ทำโดยไม่ได้มีเจตนาประสงค์ร้าย แต่ใครจะคิดว่ามันอาจเป็นการเพิ่มข้อมูลสารสนเทศเท็จเข้าสู่โลกออนไลน์โดยไม่ตั้งใจก็ได้ หรืออาจมีใครเอาสิ่งที่เราโพสต์ไปใช้โดยมีเจตนาที่ไม่ดีแอบแฝงก็เป็นได้ และผลที่ตามมาอาจร้ายแรงกว่าที่คิด ดังนั้นอย่าลืม ชัวร์ก่อนโพสต์ ชัวร์ก่อนเชื่อ ก่อนแชร์กันนะ !

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : ETDA

หรือดูข่าวสารกิจกรรมอื่นๆ ได้อีกช่องทางคือ Facebook หรือ Instragram

 

 

สนใจใช้บริการหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ฝ่ายที่ปรึกษาการขายและบริการลูกค้า

โทร : 02-538-1481 ต่อ 1001-1005

อีเมล์ : sales@inventech.co.th

 

 

#InventechSystems #Inventech #INV #InventechService  #SmartDigitalSolitions #อินเวนท์เทคฯ #อินเวนท์เทคซิสเท็มส์ฯ

#AGM #EGM #จัดประชุมผู้ถือหุ้น #จัดประชุมออนไลน์ #จัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ #อินเวนท์เทคที่หนึ่งด้านการจัดประชุมผู้ถือหุ้น

บทความเเละข่าวสารเเนะนำ

บริการจัดหาอุปกรณ์สำหรับงานประชุมผู้ถือหุ้นที่มีคุณภาพ

บริการระบบจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง

Inventech ผู้ให้บริการระบบประชุมผู้ถือหุ้น ที่จะช่วยให้คุณได้รับการประเมิน AGM Checklist อย่างมีประสิทธิภาพ