menu
          การลงลายมือชื่อหรือการเซ็นชื่อ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่บนกระดาษอย่างเดียวอีกต่อไป ในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ การดำเนินการหลาย ๆ อย่าง ทั้งการกดปุ่มยืนยัน การพิมพ์ชื่อท้ายอีเมล ฯลฯ ถือเป็นการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อบนกระดาษ เรามาทำความรู้จักกับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องกัน
การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์กับลายมือดิจิทัลต่างกันอย่างไร
 
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature)
กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้กำหนดคำนิยามของ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” เอาไว้ว่า “อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น”
 
กล่าวคือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature คืออักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อระบุวัตถุประสงค์ของเจ้าของลายมือชื่อ โดยมีเงื่อนไขในการลงลายมือชื่อ ได้แก่ 1. ระบุผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อได้ 2. แสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อกับข้อความที่ลงลายมือชื่อได้ และ 3. ใช้วิธีการที่เหมาะสมกับธุรกรรมนั้น ๆ เช่น การตอบตกลงในไลน์, การกดยอมรับเงื่อนไข, การพิมพ์ชื่อท้ายอีเมล ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะสะดวกแล้ว ยังมีความน่าเชื่อถือ ลดเวลาการจัดส่งเอกสาร และมีความปลอดภัยด้วย
 
ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)
ลายมือชื่อดิจิทัล หรือ Digital Signature คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่งที่มีกระบวนการเข้ารหัสลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งตอบข้อกำหนดในมาตรา 26 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งมีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือสูง เพราะสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ตัวอย่างเช่น ลายมือชื่อดิจิทัลแบบ XML Advanced Electronic Signatures (XAdES) ที่ใช้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับไฟล์ XML
 
การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบไหนที่มีผลทางกฎหมาย
กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย เพื่อให้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีผลทางกฎหมายเทียบเท่าการใช้กระดาษ ดังนั้น การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือชื่อดิจิทัล หากได้ดำเนินการตามที่มาตรา 9 หรือมาตรา 26 กำหนดแล้ว ไม่ว่าจะลงลายมือชื่อในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใดก็มีผลทางกฎหมาย และมีผลเช่นเดียวกับเซ็นบนกระดาษ
 
เลือกใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบไหนดีกว่ากัน
การตัดสินใจเลือกวิธีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น สามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์และความเสี่ยงในการนำไปใช้งาน หากต้องการใช้งานทั่วไปก็สามารถใช้ e-Signature ซึ่งจะเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบทั่วไป แต่หากต้องการความมั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ สามารถพิจารณาการใช้ Digital Signature ที่เป็นลายมือชื่อดิจิทัล เนื่องจากสามารถตรวจสอบการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงของเอกสารและลายมือชื่อได้นั่นเอง

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : ETDA

หรือดูข่าวสารกิจกรรมอื่นๆ ได้อีกช่องทางคือ Facebook หรือ Instragram

 

 

สนใจใช้บริการหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ฝ่ายที่ปรึกษาการขายและบริการลูกค้า

โทร : 02-538-1481 ต่อ 1001-1005

อีเมล์ : sales@inventech.co.th

 

 

#InventechSystems #Inventech #INV #InventechService  #SmartDigitalSolitions #อินเวนท์เทคฯ #อินเวนท์เทคซิสเท็มส์ฯ

#AGM #EGM #จัดประชุมผู้ถือหุ้น #จัดประชุมออนไลน์ #จัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ #อินเวนท์เทคที่หนึ่งด้านการจัดประชุมผู้ถือหุ้น

บทความเเละข่าวสารเเนะนำ

บริการจัดหาอุปกรณ์สำหรับงานประชุมผู้ถือหุ้นที่มีคุณภาพ

บริการระบบจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง

Inventech ผู้ให้บริการระบบประชุมผู้ถือหุ้น ที่จะช่วยให้คุณได้รับการประเมิน AGM Checklist อย่างมีประสิทธิภาพ